วิสัยทัศน์ "เป็นองค์กรกลางในการคุ้มครองผู้บริโภคของชาติในระดับสากล”
| |
พันธกิจ | |
1. บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค
2. พัฒนากฎหมาย และนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อเหตุการณ์
3. สร้างเครือข่ายผู้บริโภค และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
4. เผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ผู้บริโภครู้จักปกป้อง และรักษาสิทธิของตนเอง
| |
ประเด็นยุทธศาสตร์ | |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนากลไกการป้องกันและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อเหตุการณ์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การเพิ่มศักยภาพผู้บริโภค และเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาองค์กรและบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ
| |
เป้าประสงค์ | |
1. กลไกการป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ มีประสิทธิภาพ
2. ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการเลือกใช้สินค้าและบริการ
3. ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม
4. กฎหมายมีความทันสมัย
5. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภค และตระหนักต่อการปกป้องสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค
6. เครือข่างมีความเข้มแข็งในการคุ้มครองผู้บริโภค
7. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภค
8. องค์กรมีการบริหาร และการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
9. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทันต่อเหตุการณ์
ที่มา : นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของ สคบ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
************************************************
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้บริโภคมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
2. ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใดๆ ตามที่เห็นสมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค 3. สนับสนุนหรือทำการศึกษาและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองของผู้บริโภคร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น 4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาแก่ผู้บริโภคในทุกระดับการศึกษาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและอันตรายที่อาจได้รับ จากสินค้าหรือบริการ 5. ดำเนินการเผยแพร่วิชาการ และให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างนิสัยในการบริโภคที่เป็นการส่งเสริมพลานามัย ประหยัดและใช้ทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด 6. ประสานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย
1. เสมอภาค (Fairness)
คำนิยาม :
บริการประชาชนด้วยความเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติ ปราศจากอคติ ชอบด้วยเหตุผล ทำให้ผู้รับบริการได้รับผลสัมฤทธิ์อย่างถูกต้องและสอดคล้องตามกฎหมายในสิ่งที่ถูกที่ควร
องค์ประกอบ :
2. สุจริต (Intergrity)
คำนิยาม :
ประพฤติดี ประพฤติชอบ ทั้งกาย วาจาใจ ซื่อสัตย์มั่นคงต่อความดีและความถูกต้อง เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและตนเอง
องค์ประกอบ :
3. ใฝ่รู้ (Eager to Learn)
คำนิยาม :
การค้นหา สอบถาม ติดตามทุกสิ่งที่ควรรู้ อยากรู้ และศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อนำมาประยุกต์พัฒนาตนเองและงานที่รับผิดชอบ นำหน่วยงานไปสู้องค์กรแห่งการเรียนรู้
องค์ประกอบ :
4.มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)
คำนิยาม :
ปฏิบัติให้สำเร็จ ลุล่วง ให้ประชาชนและผู้รับบริการได้รับความคุ้มครองตามจุดหมาย หรือพันธกิจที่วางไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นธรรม
องค์ประกอบ :
5.สามัคคี (Unity)
คำนิยาม :
รวมพลัง ความคิด การกระทำ เป้าหมาย และทัศนคติร่วมกันให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อประโยชน์ของสคบ.
องค์ประกอบ :
|
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)